3 Sustainable Fashion Influencers กับแรงบันดาลใจต่อยอดในการทำแบรนด์เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง
top of page
  • รูปภาพนักเขียนDOGBY-DOO!

3 Sustainable Fashion Influencers ที่อาจเป็นแรงบันดาลใจ ให้แบรนด์ชุดหมาแมวของคุณได้

อัปเดตเมื่อ 29 มิ.ย. 2566


sustainable fashon influencer

การรักษ์โลก หรือทำอะไรที่ Sustainability ไม่ใช่แค่กระแส

เพราะโลกเราสูญเสียทรัพยากรมากขึ้นทุกวัน ร้อนขึ้นทุกวัน และนั่นคือ Fact

นี่คือประโยคหนึ่งที่ทัชใจของเรามาๆ จากนักเรียน ในระหว่างที่ทำการ Consult Group อยู่


และนั่นจึงเป็นที่มาของบทความนี้ ที่ผู้เขียนเริ่มมองหา Creator หรือ Influencer สาย Sustainable Fashion ที่ผลิตคอนเทนท์สายแฟชั่นรักษ์โลกออกมาสู่โลกอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการศึกษาพฤติกรรมสำหรับผู้อ่านที่อยากจะทำแบรนด์เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง ในสายนี้ได้มีแรงบันดาลใจและกรณีศึกษานำไปปรับใช้กับตัวเองได้


🐶🐱 ในบทความนี้ประกอบด้วย

 


influencer คืออะไร

มาทำความเข้าใจกันก่อน แท้จริงแล้ว Influencer คืออะไร


ถ้าคุณกำลังคิดว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่โพสต์อะไรบางอย่างขึ้นบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Facebook, Instagram, Tiktok, Youtoutube ฯลฯ แล้วเกิดกระแสการบอกต่อเยอะๆ (Viral) หรือคนๆ นั้นมียอดวิว ยอดแชร์ ยอดไลก์เยอะ นั่นแปลว่าสิ่งที่เขาเป็นคือ Influencer แล้ว


Influenc แปลตรงตัวคือ โน้มน้าว

ดังนั้น Influencer ในสายตาของเราคือ ผู้มี่สามารถโน้มน้าวใจ โน้มน้าวความคิด ของผู้อื่นได้ ไม่เพียงแค่นั้น อิทธิพลของการโน้มน้าวใจดังกล่าว สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมต่างๆ ที่ Influencer คนนั้นๆ นำเสนอได้ด้วย เช่น



เอมี่ (สมมติ) เป็น Influencer ที่ทำคอนเทนท์เกี่ยวกับแฟชั่นในสายรักษ์โลก การนำเสนอของเธอก็จะสามารถจูงใจให้ผู้ติดตาม ค่อยๆ ปรับพฤติกรรมจากไม่สนใจใยดีโลกเลย เริ่มหันมาซื้อเสื้อผ้ามือสอง เพื่อลดการซื้อเสื้อผ้ามือ 1 ที่ต้องผลิตขึ้นมาใหม่ ลดกระบวนการอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดขยะแฟชั่นลงได้ในทางอ้อม หรือเธอทำคอนเทนท์เกี่ยวกับการแยกขยะ แล้วมีคนสนใจและทำตาม เป็นต้น


แบบนี้เราจะเห็นได้ว่า เอมี่มีการนำเสนอคอนเทนท์ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องของมุมมอง พฤติกรรมของผู้ติดตาม ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่เธอนำเสนอ

ซึ่งแน่นนอนว่า ในความเป็นจริง การโน้มน้าวในสิ่งใดๆ นั้นต้องใช้ระยะเวลา และความสม่ำเสมอในการนำเสนอ จนกว่าผู้คนจะเริ่มเชื่อและคล้อยตาม


ซึ่งเราไม่ได้พูดถึงเลยว่าเอมีมี่จำนวนผู้ติดตาม มียอดวิว ยอดคอมเมนท์ ไลก์ แชร์อยู่ที่เท่าไร เพราะการเป็น Influencer นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวเลขเหล่านี้เพียงอย่างเดียว (แต่แน่ล่ะ! การมียอดผู้ติดตามเยอะมันดีกว่า เปิดโอกาสเรื่องอื่นๆ เข้าสู่ชีวิตเราได้มากกว่า)



และในมุมนี้ เป็นมุมมองจากเราที่เป็นผู้เขียนนะคะ ที่มองว่าการ Influenc ผู้คนที่แท้จริงนั้นมีสิ่งที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนมากกว่าการทำคอนเทนท์เรียกยอดวิวเพียงอย่างเดียวอยู่ค่อนข้างมาก การจะ Influenc ใครได้ มันต้องอาศัยทั้งความสม่ำเสมอ การลงมือทำและอินในเรื่องราวนั้นจริงๆ รวมถึงการแสดงออกถึงทัศนคติที่มีต่อเรื่องราวที่เรานำเสนอด้วย นี่จึงเป็นอิทธิพลที่เรียกได้ว่ามาจากนิยามของการ Influencer ที่แท้จริง


 

3 Sustainable Fashion Influencer ที่น่าสนใจ



ถ้าเสื้อผ้าชุดนั้นๆ เกิดขาด รุ่ย เสียหายขึ้นมา โดยทั่วไปที่เราๆ ทำกันเต็มที่ คือคงนำไปซ่อมโดยการปะ ชุน หรืออะไรก็ว่าไป แต่กับ Celia Pym ไม่ใช่แบบนั้นค่ะ ด้วยความเป็นศิลปิน เธอนำงานนั้นมาทำการเย็บตกแต่งด้วยเทคนิคการเดินเส้นเย็บแบบ Darn


นอกจากนี้เธอยังมีการเปิด Workshop ต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจงานศิลปะการซ่อมแซมเสื้อผ้าแบบ Darn อีกด้วย



พอเห็นงานของ Celia Pym แล้วเราจึงสนใจและอยากพามารู้จักเทคนิคการซ่อมแซม ตกแต่งเสื้อผ้าที่เรียกว่า Darn กันค่ะ


Darn ก็คือการเย็บ Stitching รูปแบบหนึ่ง นิยมเย็บด้วยด้ายปัก หรือไหมพรมที่มีเส้นขนาดใหญ่ โดยที่เราอาจจะเน้นให้เห็นชัดเจนไปเลยว่าชุดนี้เราได้เย็บ Darn ตรงนี้ เพราะจากปกติเราจะคุ้นเคยกับการใช้ด้ายเย็บเส้นเล็ก และสีกลืนกันกับผ้า เพื่อไม่ให้เห็นงานเย็บซ่อมแซม แต่การเย็บ Darn Stitching ไม่ใช่แบบนั้นค่ะ นอกจากจะเย็บซ่อมแซมเฉพาะจุดแล้ว เรายังสามารถเดินเส้นเย็บเน้นโชว์ลวดลายและความสวยงามกันจะๆ เต็มชุดไปเลยก็ได้อีกเช่นกัน




 

เป็นอีก 1 Influencer ที่เข้าไปดูผลงานแล้วได้แรงบันดาลใจสูงมาก เพราะเทคนิคงานในเรื่อง Darn ก็น่าสนใจ รวมถึงมีการทำเสื้อผ้าแฟชั่นแบบ Upcycling ออกมาเป็นแฟชั่นโชว์อีกด้วย


สำหรับ lily Fulop นี้จะมีการทำงานในหลายแง่มุม รวมถึงการทำ Repair เสื้อผ้าและการครีเอทลุคใหม่ๆ ที่มาจากการนำเสื้อผ้าตัวเก่ามาทำให้น่าสนใจมากอีกด้วย




พอเห็นงาน Upcycling แล้ว ก็อยากจะเอาเกร็ดนี้มาแนะนำต่อ


Upcycling Fashion คือ การทำเสื้อผ้าชุดใหม่โดยใช้ชุดเก่าที่มี มาออกแบบตัดเย็บ ดัดแปลงให้กลายเป็นเสื้อผ้าชุดใหม่ Look ใหม่ หรือเข้าใจง่ายๆ ว่าเอาของเก่ามาเล่าใหม่ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


ความ Sustainable Fashion นั้นไม่ใช่เพียงแค่คอนเส็ปต์สวยๆ เก๋ๆ ของงานแฟชั่น แต่เป็นการทำเสื้อผ้าแบบ “ยั่งยืน รักษ์สิ่งแวดล้อม” ที่มีอะไรมากกว่าเพียงแค่ดีไซน์ เพราะ Loop ของเสื้อผ้าแฟชั่นคือการนำเสื้อผ้าที่เป็นที่นิยม ในเวลานั้นๆ มาใส่ แล้วพอผ่านไปสักระยะก็ตกกระแสและเก่าเก็บอยู่ในตู้เสื้อผ้า



แต่การทำเสื้อผ้าแบบ Upcycling คือการหยิบของเก่ามาทำใหม่ โดยที่เป็นอีก 1 วิธีในการลดกระบวนการและทรัพยากรในการผลิตเสื้อผ้าตัวใหม่มือ 1 ในอุตสาหกรรมแฟชั่นได้อีกทางเช่นกัน


 

เป็น Influencer ที่เขียนหนังสือช่ือว่า How to Sew Sustainably และมีหนังสืออื่นๆ ที่น่าสนใจอีกหลายเล่มที่ Wendy Ward เขียนในแง่มุมของความ Sustainable


และเมื่อเข้าไปที่เว็บไซต์ของเธอ เราจะพบการแชร์เร่ืองราวหลายอย่าง ทั้งงานศิลปะ การตัดเย็บที่มักจะพูดถึงความยั่งยืนและการรักษ์โลกอยู่เสมอๆ ซึ่งผ่านมุมมองของการทำให้เป็นเรื่องใกล้ตัว และไม่รู้สึกว่าการที่จะมี Lifestyle ที่ดีและรักษ์โลกไปพร้อมๆ กันนั้นเป็นเรื่องยากเย็นจนเกินไป



 

แนวคิดนำเทคนิคในการทำ content ของพวกเขามาปรับใช้กับแบรนด์ของเรา


เราได้ลองทำความรู้จัก Sustainable Fashoin Influencer กันไปแล้วถึง 3 คน ซึ่งหลังจากนี้ไปจะเป็นการต่อยอด และนำเสนอวิธีการปรับเรื่องของเทคนิค ในการทำคอนเทนท์ จากมุมมองและประสบการณืของเราซึ่งเป็นผู้เขียนและเรียบเรียงบทความนี้นะคะ


ต้องขอบอกก่อนว่าวิธีการบนโลก Digital นั้นเปลี่ยนเร็วและมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาเสมอ ดังนั้นสรุปนี้อาจเหมาะกับ timing หนึ่งๆ และสถานการณ์ของแต่ละบุคคลด้วย แต่ทั้งนี้ก็อยากแชร์มุมมองที่ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ได้มากที่สุดค่ะ


สิ่งที่เราอยากแนะนำ ในการศึกษาจาก Influencer ทั้ง 3 คนนี้และนำไปต่อยอดคือ


1. เปลี่ยนพื้นที่บนโลกออนไลน์ ให้เป็น Gallery ส่วนตัว ซึ่งเราอาจสร้างผลงานขึ้นมาสักชิ้น แล้วนำเสนอลงบน IG / Facebook หรือมี Website ของตัวเองได้ยิ่งดี เพราะนี่คือพื้นที่ที่เราจะสามารถนำเสนอผลงาน ซึ่งถ้าใครซีเรียสว่าต้องลงแต่ผลงานเทพๆ เท่านั้น เปล่าเลยค่ะ เราสามารถนำเสนอผลงานในแง่ของพัฒนาของเราเองทีละเล็กละน้อยด้วยก็ได้ การมีพื้นที่แสดงผลงานของเราบนสื่อออนไลน์ ทุกวันนี้เท่ากับประตูสู่โอกาส ที่จะต่อยอดนำไปสู่สิ่งอื่นๆ ได้มากมาย


2. Focus ใน 1 Topic ที่เราอยากสื่อสาร ทำเจาะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่งแบบคมชัดไปเลย เช่น เราอยากพูดถึงเรื่อง Sustainable Fashion ก็ทำเจาะไปที่เรื่องนี้ ไม่ต้องเสริม Lifestyle อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น สูตรอาหาร การแต่งหน้า ฯลฯ เข้ามา นอกเสียจากว่าเราสามารถเบลนด์เนื้อหาต่างๆ ให้กลายเป็นเรื่อง sustain ได้อย่างกลมกลืน ที่ต้องทำเจาะลึก 1 Topic หลักนั่นเป็นเพราะกันความสับสนของผู้ติดตาม พวกเขาจะไม่ได้รู้สึกว่าเราเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และมีผลดีต่ออัลกอลิธึ่มของแพลตฟอร์มต่างๆ ที่จะค้นหาเราเจอได้โดยง่ายอีกด้วย


3. ถือเป็นการลองทำ persona Branding ไปในตัว เพราะโดยปกติถ้าเราจะทำแบรนด์เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงที่เป็นสาย sustainable Fashion สิ่งนั้นจะเรียกว่าเป็น Coperate Brand แต่เมื่อเรามีพื้นที่สื่อแยกต่างหาก เราจะสามารถแตะเรื่องของ Sustainable ได้มากกว่าจะจบแค่ที่เรื่องของ Pet Fashion หรือจำกัดเฉพาะ Product เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเท่านั้น

 

3 ข้อนี้คือสิ่งที่เรามองเห็นว่าเป็น Basic มากๆ ในการนำไปต่อยอดการทำคอนเทนท์ตา่งๆ ที่มีผลดีต่อทั้งธุรกิจ และผลต่อต่อทั้งโลกใบนี้ด้วย (อย่าลืมนะคะ เมื่อลงมือทำ เราคือคนหนึ่ง แบรนด์หนึ่งที่ได้มีส่วนช่วยในการ Influenc ผู้คนให้หันมาสนใจเรื่องความยั่งยืนและการรักษ์โลกอีกด้วย และถ้าหากใครสนใจ อยากเอาเรื่อง Sustainable ที่กำลังอินอยู่ มาผนวกเข้ากับวิธีการทำการตลาดสัตว์เลี้ยง บทความนี้เราขอแนะนำคอร์สเรียน Pet Marketing เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจทำการตลาดสัตว์เลี้ยง ได้รู้จัก tools ที่ใช้โปรโมทลงบน Instagram หรือ Facebook เจาะกลุ่มคนรักสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะได้อีกด้วย


ดู 330 ครั้ง0 ความคิดเห็น
  • Facebook
  • Instagram
  • YouTube
  • Pinterest
bottom of page