top of page
  • รูปภาพนักเขียนDOGBY-DOO!

How to ดูหน้าผ้า ก่อนตัดชุดสัตว์เลี้ยง และข้อควรรู้เกี่ยวกับแนวเกรนผ้า : Basic Series (1)

อัปเดตเมื่อ 20 ส.ค. 2565


ถึงจะจั่วหัวข้อว่าเป็นการดูหน้าผ้า เพื่อใช้สำหรับวางแบบตัดเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง แต่อันที่จริงแล้ว หากเราต้องการตัดชุดสำหรับเจ้าของ เพื่อใส่คู่กับน้องหมาน้องแมว ก็ใช้วิธีการวางแพทเทิร์นและดูหน้าผ้าในแบบเดียวกันได้


🧐 Content นี้ ประกอบด้วยอะไรบ้าง (เลือกอ่านตามหัวข้อที่ต้องการได้ค่ะ)



1. ทำความรู้จัก 'แนวเกรนผ้า' มันคืออะไร สำคัญยังไงกันนะ ?


แนวเกรนผ้า (Fabric Grain) คือ ทิศทางของเส้นด้าย ที่ถักทอรวมกันออกมาเป็นผืน ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 3 ทิศทาง ได้แก่ ด้านกว้าง ด้านยาว และด้านเฉลียง และนี่คือหัวใจสำคัญ ที่ส่งผลต่อการเย็บผ้าแบบแน่นอน 100% ค่ะ เพราะการวางผ้าที่ต่างกัน จะกระทบต่อ

  1. ความสวยงาม คงทน หรือแม้กระทั่งลวดลายที่จะปรากฏบนผลงานตัดเย็บ

  2. ปริมาณชิ้นงานที่จะได้ ต่อจำนวนผ้าที่มี เช่น หากปกติแล้วเสื้อเชิ้ตน้องหมา เบอร์ M (ไซซ์ประมาณชิสุห์) หากตัดบนผ้าหน้ากว้าง 60 นิ้ว จะได้ทั้งหมด 3 ตัว และเหลือเศษ เพียงพอสำหรับตัดเบอร์ S ได้ 1 ตัว แต่ถ้าหากมีการวางเกรนผ้าผิด หรือวางเพื่อเอาลวดลายบางอย่างที่ต้องการบนผ้า ก็จะทำให้ได้ปริมาณชุดที่น้อยลง ซึ่งหากใครตัดเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงขาย นั่นเท่ากับว่า ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเราจะสูงขึ้น

  3. หากไม่ทราบเรื่องการวางเกรนผ้า ก็จะปรับจักรให้เมาะสมกับการเย็บได้ยาก ทำให้ได้งานเย็บที่ย้วย ฝีเข็มไม่สวย ชุดย่น หรือได้ชุดออกมาเล็กกว่าขนาดที่ควรจะเป็น แม้ว่าจะตัดผ้าตาม Pattern ถูกต้องแล้วก็ตาม เรียกได้ว่า วางเกรนผ้าผิด ชีวิตเปลี่ยนจริงๆ ค่ะ

เกรนผ้า (Fabric Grain) คืออะไร ดูยังไง ดูได้ในคลิปนี้เลยค่ะ



หมายเหตุ***

คลิปประกอบนี้ ถูกดึงมาจากวิดีโอบทหนึ่งของคอร์ส Pet Pattern Online หากต้องการดูนาทีที่พูดถึงการดูแนวเกรนทันที ให้ Skip ไปที่ 00:30 วินาที ของคลิปได้เลยค่ะ 

 

2. สรุปวิธีการดูแนวเกรนผ้า ทั้งหมด 3 แนวเกรน



2.1 แนวเกรนผ้าด้านยาว (Lengthwise Grain)

คือ แนวเกรนตามด้านที่ยาวที่สุดของผ้า ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายมาก เพราะว่าริมขอบผ้าของแนวเกรนด้านยาว มักจะมีแนวขอบที่สังเกตได้ชัดจากโรงงาน


2.2 แนวเกรนด้านกว้าง (Crosswise Grain)

แนวเกรนด้านนี้จะมีความคงทนสูสีกับแนวเกรนผ้าด้านยาว ซึ่งหากเราใช้ผ้า Cotton พิมพ์ลายที่มีลักษณะเป็นผ้า Block หรือมีลายที่โดดเด่นตามแนวด้านกว้าง การวางผ้าของเราก็จำเป็นที่จะต้องวางตามด้านกว้างนี้ ซึ่งแน่นอนว่า อาจมีการเปลืองผ้าเกิดขึ้นเล็กน้อย แล้วแต่ลายผ้าและ Pattern


2.3 แนวเกรนเฉลียง (Bias Grain)

บางคนก็เรียงแนวเกรนเฉียง แนวแทยง แต่ทั้งนี้ การวางผ้าในแนวนี้ คือนับที่ 45 องศาทำมุมกับแนวเกรนผ้าด้านยาวนะคะ จุดเด่นของการวางแนวนี้คือ จะได้ผ้าที่ทิ้งตัวสวยงาม มีความย้วย มักจะเหมาะกับการทำกระโรงทรงวงกลม หรือแขนเสื้อแบบย้วยๆ อีกอย่างหนึ่งคือเป็นแนวในการวางเพื่อเตรียมทำผ้ากุ๊นอีกด้วยค่ะ

 

3. วิธีดูสัญลักษณ์ของ 'แนวเกรนผ้า' ที่ปรากฏอยู่บน pattern

หากเป็นแพทเทิร์นของเรา เราจะระบุให้เลยค่ะ ว่าแนวเกรนผ้าที่ใช้นั้น เป็นเกรนอะไร วางแนวไหน รับรองเข้าใจง่ายแน่นอน



 

สำหรับ Content นี้ เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของพื้นฐาน ที่เราไม่ควรมองข้ามไปจริงๆ

ทุกๆ บทความ ไม่ว่าสั้นหรือยาว ผู้เขียนมีความตั้งใจในการถ่ายทอดแง่มุม วิธีการของการตัดเย็บเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงเสมอ ยังไงก็ขอฝากติดตามกันด้วยนะคะ


หากชอบบทความนี้ อย่าลืมกดหัวใจให้เราด้วยนะคะ

กดหัวใจตรงนี้ค่ะ ^^

ดู 9,651 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


  • Facebook
  • Instagram
  • YouTube
  • Pinterest
bottom of page